วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553

การแบ่งประเภทสื่อ
- ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสิ่งหรือวิธีการใช้งาน
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำ
ประสบการณ์ คือสิ่งที่เคยทำหรือกระทำอยู่
แนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale)กรวย 11 กลุ่ม
ประกอบด้วย
1.ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานการณ์จริง หรือการกระทำด้วยตนเองเช่นการจับต้องและการเห็นเป็นต้น
2.ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดในยุคสมัย เวลาและสถานที่
4.การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่จริงอาจเป็นการท่องเที่ยว การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หือการสัมภาษณ์เหล่านี้ เป็นต้น
6.นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
7.โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจร
8.ภาพยนต์ เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหูหรืออาจจะเป็นการเห็นเพียงภาพเคลื่อนไหว
9.การบันทึกเสียงวิทยุภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
10.ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ
11.วจนสัญลักษณ์ เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
- เอ็ดการ์ เดลย์ (Dale, 1969) ได้กำหนดให้การศึกษานอกสถานที่ เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมประเภทหนึ่ง ในลำดับขั้นของกรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) และกล่าวว่าการศึกษานอกสถานที่ เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ชัดเจนในเรื่องต่างๆ ประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างศึกษานอกสถานที่ โดยตัวของกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่นั้น คือการดำเนินการสังเกตในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นจริงที่ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางกายภาพที่สมบูรณ์ในเหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีจากการเรียนในห้องเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น